ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงอันตรายอยู่มาก เสาไฟฟ้าแรงสูงเหล่านั้นคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่ออาศัยอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นคืออะไร แล้วถ้าอยู่ใกล้ๆ เสาไฟฟ้าแรงสูงจะมีข้อควรระวังอะไรบ้าง มาหาคำตอบได้แล้วที่บทความนี้
เสาไฟฟ้าแรงสูง คืออะไร
เสาไฟฟ้าแรงสูง คือ สิ่งก่อสร้างที่ติดตั้งสายไฟและระบบไฟฟ้าแรงสูง เป็นแหล่งรวมพลังงานไฟฟ้ามหาศาลที่มีแรงดันมากกว่า 1,000 โวลต์ สามารถส่งพลังงานได้ในระยะไกลๆ โดยทั่วไประบบไฟฟ้าแรงสูงมักใช้กับอุตสาหกรรมที่ต้องผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้ามากๆ เช่น การฉายรังสีด้วยลำแสงอนุภาคสร้างพลังงานในท่อสุญญากาศรวมทั้งนำไปใช้ทางกิจกรรมทางด้านการทหารและวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้แรงไฟฟ้าแรงดันสูง
เสาไฟฟ้าแรงสูง แรงสูงแค่ไหน
เสาไฟฟ้าแรงสูงในประเทศไทยมีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 12,000 โวลต์ไปจนถึง 500,000 โวลต์ โดยแบ่งเป็นระดับต่างๆ ได้แก่ ระบบ 12-24 กิโลโวลต์ สำหรับการจ่ายไฟในพื้นที่ชุมชน ระบบ 69-115 กิโลโวลต์ สำหรับการส่งไฟระยะกลาง และระบบ 230-500 กิโลโวลต์ สำหรับการส่งไฟระยะไกล ซึ่งแรงดันที่สูงนี้ช่วยลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งไฟฟ้า
เสาไฟฟ้าแรงสูง ต่างกับเสาทั่วไปยังไง
เสาไฟฟ้าแรงสูงมีความแตกต่างจากเสาไฟฟ้าทั่วไปอย่างชัดเจน ทั้งในด้านขนาด โครงสร้าง และระบบการทำงาน โดยเสาไฟฟ้าแรงสูงมีขนาดใหญ่กว่า มีความสูงตั้งแต่ 30-80 เมตร มีระบบฉนวนที่ซับซ้อนกว่า และมีระยะห่างระหว่างสายไฟมากกว่า เพื่อป้องกันการลัดวงจร นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันฟ้าผ่าและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ครบครันกว่าเสาไฟฟ้าทั่วไป
เสาไฟฟ้าแรงสูง มีกี่ประเภท
เสาไฟฟ้าแรงสูงที่ใช้ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. เสาคอนเกรีต (Concrete Pole)
เสาคอนกรีตเป็นเสาไฟฟ้าแรงสูงที่นิยมใช้ในระบบจำหน่ายแรงดัน 22-33 kV เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ติดตั้งง่าย และบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ชุมชนและเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
2. เสาเหล็กชนิด 8 เหลี่ยม (Mono Pole)
เสาเหล็ก 8 เหลี่ยมเป็นเสาไฟฟ้าแรงสูงที่ผลิตจากเหล็กกล้าคุณภาพสูง มีน้ำหนักเบากว่าเสาคอนกรีต แต่มีความแข็งแรงสูง ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย เหมาะสำหรับติดตั้งในเขตเมืองที่มีพื้นที่จำกัด สามารถรองรับระบบแรงดัน 69-115 kV และมีความสวยงามกว่าเสาประเภทอื่น
3. เสาโครงเหล็ก (Steel Tower)
เสาโครงเหล็กเป็นเสาไฟฟ้าแรงสูงขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับระบบส่งแรงดันสูงพิเศษ 230-500 kV มีโครงสร้างแข็งแรง ทนทานต่อแรงลม และสามารถรองรับสายไฟจำนวนมาก เหมาะสำหรับการส่งจ่ายไฟฟ้าระยะไกลระหว่างภูมิภาค แต่ใช้พื้นที่ติดตั้งมากและมีต้นทุนสูง
ขั้นตอนการติดตั้งเสาไฟแรงสูง
การติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงเป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังสูง ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งเสาไฟแรงสูง มีดังนี้
- สำรวจและวางแผนพื้นที่ติดตั้ง
- ทำการทดสอบดินและออกแบบฐานราก
- ก่อสร้างฐานรากและเทคอนกรีต
- ประกอบโครงสร้างเสาไฟฟ้า
- ติดตั้งระบบสายดินและอุปกรณ์ป้องกัน
- ติดตั้งลูกถ้วยฉนวนและอุปกรณ์ประกอบ
- พาดสายไฟและติดตั้งระบบควบคุม
- ทดสอบระบบและตรวจสอบความปลอดภัย
อันตรายที่อาจเกิดจากเสาไฟฟ้าแรงสูง
แน่นอนว่าเสาไฟฟ้าแรงสูงที่เป็นตัวส่งผ่านแรงดันไฟฟ้าที่มีกำลังวัตต์กว่า 1000 โวลต์ นั้น ต้องเป็นอันตรายอย่างแน่นอน มาดูกันว่าอันตรายที่อาจจะเกิดจากเสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นคืออะไร
อันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
ถึงแม้เสาไฟฟ้าแรงสูงจะเป็นอันตรายกับคนที่อยู่ใกล้ๆ ได้มาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้ารั่วเลย ด้วยอันตรายนี้จึงทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเสาไฟฟ้าแรงสูง มักหาพื้นที่ที่ไกลจากชุมชนเพื่อก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ผลกระทบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
เสาไฟฟ้าแรงสูงมีกลไกการทำงานเกี่ยวกับแรงดันของไฟฟ้ามหาศาล การเดินสายไฟและสายไฟจึงต้องคำนวณระยะห่างเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและอาจจะทำให้ไฟฟ้าช็อตผู้คนหรือสิ่งก่อสร้างบริเวณใกล้เคียงได้
อันตรายจากการพังทลายของเสาไฟฟ้า
เสาไฟฟ้าแรงสูงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ อีกอันตรายที่อาจเกิดจากเสาของไฟฟ้าแรงสูงนั้น คือ การพังทลายของเสาไฟฟ้า หากเกิดการพังทลายของเสาไฟฟ้าแรงสูง อาจจะทำให้สิ่งปลูกสร้างรอบๆ ได้รับความเสียหายและถ้าอยู่ใกล้ผู้คนก็อาจเสี่ยงจะถูกไฟฟ้าช็อตและบาดเจ็บจากพังทลายของเสาไฟฟ้าแรงสูงได้
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง
เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าการสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่ออยู่อาศัยใกล้กับเสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีผลกระทบกับสุขภาพอย่างไรบ้าง
ผลกระทบระยะสั้น
สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพจากการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงนั้น เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า หากถ้าอยู่ใกล้ต่อผู้คนมากเกินไปจะมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้าอย่างน้อย 12,000 โวลต์นั้นส่งแรงดันไฟฟ้ากระโดดข้ามอากาศได้หากมีการสัมผัสกับร่างกายโดยตรงอาจจะทำให้เกิดภาวะไฟช็อตได้
ผลกระทบระยะยาว
สำหรับผลกระทบระยะยาวนั้น ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ออกมาว่าตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามควรจะต้องตั้งห่างไกลจากชุมชน ในที่โล่งกว้างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับกระแสไฟที่อาจทำอันตรายแก่ผู้คนได้
งานวิจัยและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
สำหรับงานวิจัยการศึกษาที่เกี่ยวข้องว่าการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงก่อให้เกิดมะเร็งหรือโรคร้ายแรงใดกับมนุษย์ เคยเป็นที่ถกเถียงมากในต่างประเทศแต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ มารับรองว่าเสาไฟฟ้าแรงสูงมีอิทธิพลทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้
ข้อควรระวังสำหรับผู้อยู่อาศัยใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง
แน่นอนว่าหากมีเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ใกล้กับอาคารบ้านเรือนของคุณ จำเป็นอย่างมากที่คุณต้องระมัดระวังตัว
การรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย
สำหรับระยะห่างที่ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้าจากเสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีกำหนดไว้ตามกฎหมาย คือ
- สาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 12,000-24,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 1.80 เมตร
- เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 69,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 2.13 เมตร
- เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ ควรห่างจากบ้าน/อาคาร/ระเบียง 2.30 เมตร
การป้องกันบ้านเรือนและทรัพย์สิน
หากสิ่งปลูกสร้างมีการต่อเติมอาจจะต้องมีการเว้นระยะห่างใหม่ ยิ่งถ้าสิ่งปลูกสร้างที่เป็นเครื่องจักรกลควรรักษาระยะห่างจากเสาไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.05-3.90 เมตร เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของสิ่งปลูกสร้าง แต่สำหรับใครที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยก็ต้องมองหาสิ่งปลูกสร้างที่มีระยะห่างที่เหมาะสมดีที่สุด
ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าแรงสูง และพบว่าสายไฟแรงสูงชำรุดเสียหาย สิ่งที่ต้องทำคือ อย่าเข้าไปใกล้ ห้ามสัมผัส และรีบโทรแจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือหน่วยงานสาธารณภัยต่างๆ โดยเร็วที่สุด